เปลญวนกับเผ่าตองเหลือง ใครบ้างจะคาดคิดว่านักบิดมอเตอร์ไซค์ หน่วยงานเอ็น จี โอ และชาวเผ่าดึกดำบรรพ์ จะสามารถรวมตัวกันก่อตั้งเป็นธุรกิจได้อย่างบรรลุผล ? ฟังดูเหมือนเรื่องเล่าหรือนิยายน้ำเน่า แต่ก็เป็นไปได้และเกิดขึ้นแล้วจริงๆ ที่อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ของประเทศไทย โดยได้กลายเป็นโครงการพัฒนาพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดโครงการหนึ่ง ซึ่งในการนี้ชาวเผ่าตองเหลือยังคงได้ดำรงไว้ซึ่งงานหัตถกรรมที่ควบคู่และเหมาะกับการดำรงชีวิตอย่างพอเพียงของพวกเขา ในขณะเดียวกันก็ได้รับเอาสิ่งแปลกใหม่ในการปรับปรุงคุณภาพชีวิต โดยไม่พึ่งพายาเสพติด ไม่มีการค้าประเวณี แต่ได้กลายเป็นแหล่งผลิตเปลญวนคุณภาพสูงที่มีลักษณะเด่นพิเศษไม่เหมือนใคร เริ่มจากการแข่งขันแบบไม่มีต่อ เมื่อ 4 ปีที่ผ่านมา เผ่าตองเหลืองทำรายได้เข้ากว่า 1 ล้านบาทจากการขายและการส่งออกไปยัง 15 ประเทศ ไม่ง่ายเหมือนเล่นขายของ เป้าหมายไม่ใช่การผลิตง่ายๆ เพื่อจำนวนมากเพียงอย่างเดียวโดยปราศจากการคำนึงถึงคุณค่าความเป็นคนของผู้ใช้แรงงาน วัตถุประสงค์ของโครงการนี้ยังได้จัดตั้งเป็นกาองทุนอิสระขึ้นในหมู่บ้านอีกด้วย เปลญวนแต่ละผืนเสมือนกับการสร้างงานศิลปะที่แตกต่าง ที่เกิดจากมิตรภาพในหมู่เพื่อนฝูง เกิดจากครอบครัว และเกิดจากการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม นี่คือโอกาสแห่งความยินดีอันเป็นที่มาของความภาคภูมิใจของคนที่ไม่มีโอกาสทางการศึกษาอย่างเผ่าตองเหลือง นับเป็นอีกวิถีทางหนึ่งที่จะสามารถทำให้หลีกเลี่ยงกับสัญญาและข้อผูกมัดต่างๆ หรือการยินยอมให้นักท่องเที่ยวเข้าชมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ เพียงเพื่อแลกกับการอยู่รอด หวังว่านี่เป็นทางเลือกหนึ่งที่ให้กับคนรุ่นใหม่ ไม่ให้หวลกลับไปเลือกทางเดินเก่าอย่างที่เคยเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆแล้วก็กลายเป็นการยอมรับโดยปริยายของกลุ่มคนที่มีสถานภาพเดียวกัน จากตำนานเมืองในอดีตมีการกล่าวกันว่าเป็นพวกภูติผี ชาวเผ่า Mla Bri (รู้จักกันในชื่อ “เผ่าตองเหลือง” หรือ “ผีตองเหลือง”) ในปัจจุบันได้รับสัญชาติไทยแล้ว การต่อสู้ดิ้นรนเพื่อการยอมรับ ซึ่งเป็นผลตามมาด้วยอิสรภาพนี้เริ่มต้นมากว่า 20 ปีที่แล้ว โดยชาวอเมริกันและครอบครัว ได้รณรงค์เป็นผลสำเร็จในเรื่องการให้ความรู้เบื้องต้นและสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น แต่พวกเขายังคงขาดแคลนและไม่มีรายได้ที่แน่นอน ในปี 1996 นักบิดมอเตอร์ไซค์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ผู้ท้าทาย Peter Schmid ผู้นำของ “Pai Enduro Team” ซึ่งก่อนหน้านี้เคยทำงานเกี่ยวกับวิศวกรรมด้านสิ่งทอ ได้ค้นพบหมู่บ้านแห่งนี้ และได้เจอกับหญิงชาวบ้านที่มีทักษะในการทำ กระเป๋าเชือก จากเส้นใยเถาวัลย์ป่า แต่การทำ กระเป๋าเชือกนี้เป็นแต่เพียงเพื่อขายเป็นของฝากเท่านั้น แต่ไม่เพียงพอจะเรียกได้ว่าเป็นรายได้ Peter ได้ถ่ายทอดความรู้ในการทอเปลญวนให้กับคนเหล่านี้ และต่อมาได้เจาะตลาดในเมืองท่องเที่ยวที่ อ.ปาย มาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ยังพบว่าเผ่าตองเหลืองยังเป็นผู้เชี่ยวชาญอย่างมากในเรื่องยากอย่างเช่นการย้อมสี และความยุ่งยากในวิธีการทอเปลญวนแบบ “ซุปเปอร์มาบรี” ที่มีลักษณะเด่นพิเศษ ไม่เหมือนใครในทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยไม่นับรวมถึงทั่วโลก !!!! การผลิตเปลญวนได้คิดค้นเพิ่มเป็น 4 รูปแบบและผู้ชายได้มีส่วนร่วมลงแรงพลังในการทำงานนี้ ทั้งหมดนี้จะไม่สามารถเป็นจริงและสำเร็จได้ หากปราศจากความกระตือรือร้น ความร่วมมือของเผ่าตองเหลืองเอง และผลจากการทำงานอย่างหนัก จากแรงบันดาลใจของพวกเขา สามารถกระตุ้นให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จได้ด้วยดี ท่านสามารถเข้าชมเปลญวนแบบต่างๆ และขั้นตอนการผลิตได้ที่ “นัญญา เฮาส์” อ.ปาย หรือ เข้าชมเวปไซต์ที่ http://www.thailine.com/hammock/
|